วิสัยทัศน์ / ปรัชญา
วิสัยทัศน์ / ปรัชญา
วิสัยทัศน์  (VISION)
          ภายในปี  2564   โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสัย  มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียน  เรียนรู้อย่างมีความสุข 
เต็มศักยภาพ  มีคุณธรรมนำสู่มาตรฐานสากล  บนพื้นฐานความเป็นไทย
 
พันธกิจ  (MISSION)
            เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสัย  จึงได้กำหนดพันธกิจ ดังนี้
           1. พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อให้สอดคล้องกับหลักการและแนวคิดของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ต่อยอดคุณลักษณะผู้เรียนเทียบเคียงมาตรฐานสากล
         2.จัดการเรียนรู้แก่ผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนเป็นบุคคลที่มีคุณภาพ มีทักษะในการค้นคว้า แสวงหาความรู้ และมีความรู้พื้นฐานที่จำเป็น
         3. ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ สร้างสรรค์สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิผล และมีทักษะชีวิต
         4. สร้างเสริมคุณธรรมในการดำรงชีวิตตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงส่งเสริมการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย รักษ์ความเป็นไทย รักธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
          5. ส่งเสริมและพัฒนาครูจัดกระบวนการเรียนรู้แก่ผู้เรียนตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์ทุกระดับชั้น
 
เป้าประสงค์ (GOAL)
           1.  โรงเรียนมีการพัฒนาระบบการบริหารงานด้วยระบบคุณภาพ OBECQA
2.  โรงเรียนมีหลักสูตรสถานศึกษาสอดคล้อง เทียบเคียงกับหลักสูตรมาตรฐานสากล
3.  ครูและบุคลากรทางการศึกษามีคุณภาพระดับมาตรฐานสากล  มีคุณลักษณะของครูใน
ศตวรรษที่ 21
4.  ครูและบุคลากรทางการศึกษาใช้เทคโนโลยี  นวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้ให้เกิด
ประสิทธิภาพ
5.  ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของสถานศึกษา  และสร้างสังคมแห่ง
การเรียนรู้
6.  ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตรสถานศึกษา  มีคุณลักษณะของผู้เรียนใน
ศตวรรษที่ 21
7.  ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบที่เหมาะสมกับวัย  มีความเป็นผู้นำ  ตามวิถี
ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
8.  ผู้เรียนมีค่านิยมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์  มีคุณธรรม  จริยธรรม  สามารถดำรงชีวิต
อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข  ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงบนพื้นฐานความเป็นไทย 
9.  ผู้เรียนตระหนักเห็นคุณค่าการอนุรักษ์ทรัพยากร  และสิ่งแวดล้อม  

อัตลักษณ์ของสถานศึกษา
ยุทธศาสตร์
1. จัดการศึกษาเพื่อความมั่นคง
2. พัฒนาคุณภาพผู้เรียนและส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน 3. ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา
4. ขยายโอกาสการเข้าถึงบริการทางการศึกษาและการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ
5. จัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
6. พัฒนาระบบบริหารจัดการและส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
 
นโยบาย
นโยบายที่ 1 ด้านการจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคง
ยุทธศาสตร์ที่ 1 จัดการศึกษาเพื่อความมั่นคง
1. เสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลัก และการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข
1.1 น้อมนำแนวพระราชดำริ สืบสำนพระราชปณิธานและพระบรมราโชบาย
ด้านการศึกษา หรือ  “ศาสตร์พระราชา” มาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างยั่งยืน
๑.๒ ปลูกฝังและเสริมสร้างวิถีประชาธิปไตย ความสามัคคี สมานฉันท์ สันติวิธี
ต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่น  และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
๑.๓ เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับสถาบันชาติ ศาสนา
พระมหากษัตริย์ ผ่านหลักสูตรและ กระบวนการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ และความเป็นพลเมือง 
๒. ปลูกฝังผู้เรียนด้านคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์
2.1 ส่งเสริมสนับสนุนการจัดกิจกรรมทั้งในและนอกห้องเรียน ที่เอื้อต่อกรพัฒนา
คุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักสูตรและค่ำนิยมหลักของคนไทย ๑๒ ประการ
2.2 เสริมสร้างความรู้ความเข้ใจเกี่ยวกับภัยคุกคมในรูปแบบใหม่ เช่น
อาชญากรรม และความรุนแรงใน รูปแบบต่างๆ สิ่งเสพติด ภัยพิบัติจากธรรมชาติ ภัยจากโรคอุบัติใหม่ ภัยจากไซเบอร์ ฯลฯ 
3. พัฒนาการจัดการศึกษาโรงเรียนในเขตพื้นที่พิเศษให้เหมาะสมตามบริบทของพื้นที่  
3.1 เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้
3.2 เขตระเบียงเศรษฐกิจ  3.3 เขตสามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน 
3.4 เขตพื้นที่ชายแดน
3.5 เขตเศรษฐกิจพิเศษ  ฯลฯ
 
นโยบายที่ 2 ด้านการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน
ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาคุณภาพผู้เรียน และส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่อสร้างขีดความสามารถ ในการแข่งขัน
1. เสริมสร้างความเข้มแข็งในการพัฒนาผู้เรียนอย่างมีคุณภาพด้วยการปรับหลักสูตรการวัดและประเมินผลที่ เหมาะสม 
1.1 ปรับปรุงหลักสูตรในระดับปฐมวัยและหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน และนำ หลักสูตรไปสู่การปฏิบัติให้เกิดประสิทธิภาพ และจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับหลักสูตร ตามความจำเป็นและความต้องการของผู้เรียน ชุมชน ท้องถิ่น และสังคม
1.2 ส่งเสริมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีความมั่นใจในการสื่อสารภาษาอังกฤษ ภาษาประเทศคู่ค้ำ และ ภาษาอาเซียนอย่างน้อย 1 ภาษา
1.3 พัฒนาระบบการวัดและประเมินผลทุกระดับ ให้คุณภาพและมาตรฐานนำ ไปสู่การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนเต็ม ตามศักยภาพ
2. พัฒนาคุณภาพกระบวนการเรียนรู้ 
2.1 พัฒนาผู้เรียนระดับก่อนประถมศึกษา ให้มีพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ให้มีความพร้อมเข้าสู่การเรียนในระดับที่สูงขึ้น
2.2 ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียนสามารถอ่านออกเขียนได้ตามช่วงวัย
2.3 ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้เรียนมีนิสัยรักการอ่าน
2.4 ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านกิจกรรมการปฏิบัติจริง (Active Learning) เน้นทักษะ กระบวนการ ให้เกิดทักษะการคิดวิเคราะห์ คิดแก้ปัญหา และคิดสร้างสรรค์  ในทุกกลุ่มสำระการเรียนรู้ ทั้งในและนอก ห้องเรียน
2.5 ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
2.6 ปลูกฝังทักษะกระบวนกำรวิทยาศาสตร์ และจิตวิทยาศาสตร์
2.7 สนับสนุนการผลติ จัดหำ และใช้สื่อการเรียนการสอน เทคโนโลยี นวัตกรรม และสิ่งอำนวยความสะดวกที่ หลากหลายรวมทั้งการพัฒนาห้องสมุดและแหล่งเรยีนรู้ภายในสถานศึกษาในการจัดการเรียนรู้ได้ทั้งในห้องเรียน และ นอกห้องเรียนเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพ
2.8 ส่งเสริมการจัดหลักสูตรทักษะอำชีพ ควบคู่ไปกับวิชาสามัญ เช่น ทวิศึกษา (Dual Education),   หลักสูตรระยะสั้น 
2.9 ส่งเสริม สนับสนุนกรพัฒนาผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ (ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส และผู้มี ความสามารถพิเศษ) ให้เต็มตามศักยภาพด้วยรูปแบบที่เหมาะสม 2.10 ส่งเสริมสนับสนุนการจัดกิจกรรมแนะแนวเพื่อการศึกษาต่อและการประกอบอำชีพอย่างเข้มแข็งต่อเนื่อง และเป็นรูปธรรม
3. สร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน
3.1 ยกระดับผลการประเมินระดับนำนำชำติตามโครงการ PISA (Programmer for International Student Assessment)
3.2 ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศในด้านต่ำงๆ 
3.3 ส่งเสริมการเรียนรู้เชิงบูรณาการแบบสหวิทยากำรา เช่น สะเต็มศึกษา (Science Technology Engineering and Mathematics Education : STEM Education)เพื่อพัฒนากระบวนการคิด และการสร้างสรรค์ นวัตกรรมเพื่อสร้าง มูลค่าเพิ่ม สอดคล้องกับประเทศไทย 4.0
4. ส่งเสริมสนับสนุนการทำวิจัย และนำผลการวิจัยไปใช้พัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา
4.1 ส่งเสริมกำรท ำวิจัยเพื่อพัฒนากำรบริหารจัดการศึกษา
4.2 ส่งเสริมการทำวิจัยเพื่อพัฒนาหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลโดยเน้นให้มีการวิจัยใน ชั้นเรียน
 
 
          นโยบายที่ 3 ด้านการส่งเสริม พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา
ยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริม สนับสนนุการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา
1. พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้สามารถจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น
1.1 TEPE Online (Teachers and Educational personnel Enhancement Based on Mission and Functional Areas as Majors)
1.2 ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชำชีพ (Professional Learning Community : PLC)
1.3 การเรียนรู้ผ่านกิจกรรมการปฏิบัติจริง (Active Learning)
1.4 การพัฒนาครูทั้งระบบที่เชื่อมโยงกับการเลื่อนวิทยฐานะ ฯลฯ
2. พัฒนาระบบการบริหารงานบุคคลให้มีประสิทธิภาพ โดยเชื่อมโยงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้          2.1 การกำหนดแผนอัตรากำลัง การสรรหำ การบรรจุแต่งตั้ง การประเมินและการพัฒนา
2.2 การสร้างแรงจูงใจให้ครูและบุคลากรทางการศึกษามีขวัญและกำ ลังใจในการทำงาน
 
นโยบายที่ 4 ด้านโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียม การเข้าถึงบริการทางการศึกษา ยุทธศาสตร์ที่ 4 ขยายโอกาสการเข้าถึงบริการทางการศึกษาและการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ
1. เพิ่มโอกาสการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ 
1.1 ส่งเสริมประชำกรวัยเรียนทุกคนให้ได้รับโอกาสในการเข้ารับบริการทางการศึกษาอย่างทั่วถึง มีคุณภาพและ เสมอภาค
1.2 สร้างความเข้มแข็งของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ระบบส่งเสริมความประพฤตินักเรียน ระบบคุ้มครอง นักเรียน และการสร้างภูมคุ้มกันทางสังคม
2. ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา
2.1 ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการจัดการศึกษาที่เหมาะสม สำหรับเด็กด้อยโอกาส ที่ไม่อยู่ในทะเบียน ราษฎร เช่น เด็กไร้สัญชาติ เด็กพลัดถิ่น เด็กต่างด้าว เด็กไทยที่ไม่มีเลขประจำ ตัวประชำชน เป็นต้น
2.2 ส่งเสริมสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีในการจัดการศึกษาให้ครอบคลุมทุกพื้นที่อย่างทั่วถึง เช่น การพัฒนาคุณภาพศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Distance learning information technology : DLIT) , การพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกล ผ่านดาวเทียม (Distance Learning Television : DLTV) ฯลฯ
 
นโยบายที่ 5 ด้านการจัดการศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ยุทธศาสตร์ที่ 5 จัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
1. จัดการศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิต
1.1 ส่งเสริม สนับสนุนกำรสร้างจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม มีคุณธรรม จริยธรรม และน้อมนำ แนวคิดตามหลัก ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติในการดำเนินชีวิต
1.2 ส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษาพัฒนาหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้ แหล่งเรียนรู้ และสื่อการเรียนรู้ต่ำงๆ ที่ เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
1.3 สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับภาคส่วนต่ำงๆ ในกำรอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
นโยบายที่ 6 ด้านการพัฒนาระบบบริหารจัดการและส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
ยุทธศาสตร์ที่ 6 พัฒนาระบบบริหารจัดการและส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
1. พัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ
1.1 พัฒนาระบบการวางแผน การนำแผนไปสู่การปฏิบัติ การกำกับ ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล เพื่อ การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ โดยยึดหลักธรรมาภิบาล
1.2 พัฒนาระบบงบประมาณและการสนับสนุนค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษาขั้นพื้นฐาน
1.3 พัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการจัดการศึกษา ที่มีมาตรฐานเชื่อมโยงและเข้าถึงได้ 1.4 สร้างความเข้มแข็ง และยกระดับคุณภาพสถานศึกษาตามบริบทของพื้นที่ เช่น โรงเรียนที่
ประสบปัญหาวิกฤต ทางการศึกษา (ICU), โรงเรียนประชำรัฐ (ดีใกล้บ้าน) , โรงเรียนคุณธรรม, โรงเรียนห้องเรียนกีฬา, โรงเรียนมาตรฐานสำกล ฯลฯ
1.5 ส่งเสริมระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาให้เข้มแข็ง
1.6 ยกย่องเชิดชูเกียรติสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สถานศึกษา และ องค์คณะบุคคลที่มีผลงานเชิงประจักษ์
2. สร้างความเข้มแข็งในการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม
2.1 ส่งเสริมกำรบริหารจัดการเขตพื้นที่การศึกษาโดยใช้พื้นที่เป็นฐาน (Area-base Management), รูปแบบ กำรบริหารแบบกระจายอำนาจ “CLUSTERs” เป็นต้น
2.2 เขตพื้นที่การศึกษาจัดทำแผนบูรณาการจัดการศึกษาร่วมกับสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด และสำนักงานศึกษาธิการภาค 
2.3 สร้างความเข้มแข็งในการยกระดับคุณภาพการศึกษารูปแบบเครือข่าย เช่น เครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพ การจัดการศึกษา ศูนย์พัฒนากลุ่มสาระการเรียนรู้ สหวิทยาเขต กลุ่มโรงเรียนฯลฯ
          2.4 ส่งเสริมและพัฒนาโรงเรียนด้วยพลังประชำรัฐอย่างต่อเนื่อง และยั่งยืน
3. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
3.1 ส่งเสริม สนับสนุนผู้ปกครอง ชุมชน สังคม และสาธารณชน ให้มีความรู้ ความเข้าใจ สร้างความตระหนักใน การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน การกำ กับดูแล ตลอดจนการมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
3.2 ประสานสถาบันหรือหน่วยงานทางการศึกษาให้คัดเลือกผู้เรียนเข้าศึกษาต่อด้วยวิธีการที่หลากหลาย
5. ประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด  
1. ส่งเสริมและพัฒนาการผลิต การแปรรูป อาหารปลอดภัย และพืชเศรษฐกิจหลักแบบครบวงจร  
2. ยกระดับผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยนวัตกรรม ให้ได้มาตรฐานและแข่งขันได้ 
3. พัฒนาศักยภาพของจังหวัด ให้เป็นเมืองน่าอาศัย น่าท่องเที่ยว และน่าลงทุน  
4. พัฒนาการบริหารจัดการภาครัฐตามหลักธรรมาภิบาล 
5. สร้างสังคมแห่งความมั่นคงและปลอดภัย
 
 
 
เอกลักษณ์ของสถานศึกษา
เอกลักษณ์ของโรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสัย
คุณธรรมนำวิชาการ  สู่มาตรฐานสากล
 
อัตลักษณ์ของนักเรียน
งามกิริยา  วาจาดี
กลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพทางการศึกษา
กลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
จากวิสัยทัศน์  พันธกิจ  เป้าประสงค์  โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสัย  จึงกำหนดกลยุทธ์  ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 จำนวน 6 กลยุทธ์ ดังต่อไปนี้
          1. พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับโรงเรียนมาตรฐาน สากล
          2. พัฒนาศักยภาพด้านคุณภาพผู้เรียนสู่ศตวรรษที่ 21
          3. พัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
          4. พัฒนาระบบบริหารจัดการระบบคุณภาพ
          5. พัฒนาบรรยากาศสภาพแวดล้อม แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนให้พอเพียงและมีความพร้อมควบคู่เทคโนโลยี
          6. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมขอชุมชน ภาคีเครือข่ายร่วมพัฒนา
ตัวชี้วัดความสำเร็จในแต่ละกลยุทธ์
 
กลยุทธ์ ตัวชี้วัดความสำเร็จ
1. พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับโรงเรียนมาตรฐาน สากล 1. มีหลักสูตรสถานศึกษาที่สอดคล้องกับหลักสูตรโรงเรียนมาตรฐานสากลและความต้องการของท้องถิ่น
2. มีหลักสูตรที่เน้นคณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาต่างประเทศที่ 2
3. มีหลักสูตรความเป็นเลิศเฉพาะทาง และหลักสูตรทางเลือก
4. มีหลักสูตรที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และทักษะชีวิตในหลักสูตร ทุกกลุ่มสาระและทุกวิชา
5. มีหลักสูตรระดับห้องเรียน (แผนการจัดการเรียนรู้) ที่มีความเข้มแข็งทางวิชาการ สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนเรียนรู้แต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้และรายวิชา
 
 
 
 
 
 
กลยุทธ์ ตัวชี้วัดความสำเร็จ
2. พัฒนาศักยภาพด้านคุณภาพผู้เรียนสู่ศตวรรษที่ 21 1. ร้อยละของผู้เรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้เป็นไปตามเกณฑ์ระดับดีขึ้นไป
2. ร้อยละของผู้เรียนที่มีผลการประเมินสมรรถนะสำคัญตามหลักสูตรเป็นไปตามเกณฑ์ระดับดีขึ้นไป
3. ร้อยละของผู้เรียนที่มีผลการประเมิน การอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนเป็นไปตามเกณฑ์ระดับดีขึ้นไป
4. ร้อยละผู้เรียนมีผลการทดสอบระดับชาติเป็นไปตามเกณฑ์ระดับดี
5. ร้อยละของผู้เรียนที่ร่วมกิจกรรมกีฬา ศิลปะ ดนตรี นาฏศิลป์
6. ร้อยละของผู้เรียนที่มีสุขภาพจิต สุขภาพกาย ตามเกณฑ์มาตรฐาน
7. ร้อยละของผู้เรียนที่มีนิสัยรักการอ่านและแสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากห้องสมุด แหล่งเรียนรู้และสื่อต่างๆรอบตัว
8. ร้อยละของผู้เรียนที่มีทักษะในการอ่าน ฟัง พูด เขียนและตั้งคำถามเพื่อค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม
9. ร้อยละของผู้เรียนที่มีการใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้และนาเสนอผลงาน ระดับดีขึ้นไป
10. ร้อยละของผู้เรียนที่มีทักษะการสื่อสารภาษาต่างประเทศที่ 2
11. ร้อยละของผู้เรียนสามารถนำเสนอวิธีคิด วิธีแก้ปัญหาด้วยภาษาหรือวิธีการของตนเอง
12. ร้อยละของผู้เรียนสามารถกำหนดเป้าหมายคาดการณ์ ตัดสินใจแก้ปัญหาโดยมีเหตุผลประกอบ
13. ร้อยละของผู้เรียนที่มีความคิดริเริ่มและสร้างสรรค์ผลงานด้วยความภาคภูมิใจ มีความเป็นผู้นำและนักประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
14. ร้อยละของผู้เรียนที่มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์และค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ ตามหลักสูตรระดับดีมาก
15. การจัดระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนมีประสิทธิภาพ
16. ร้อยละของผู้เรียนที่สามารถป้องกันตนเองจากสิ่งเสพติดให้ โทษและหลีกเลี่ยงตนเองจากพฤติกรรมเสี่ยง
17. ร้อยละของผู้เรียนที่มีทักษะในการดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3. พัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา 1. ร้อยละของครูและบุคลากรทางการศึกษามีการจัดทำ ID Plan ระยะ 1 ปี และ 3 ปี
2. ร้อยละของครูและบุคลากรทางการศึกษา
มีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษและภาษาต่างประเทศที่ 2 ในการสื่อสาร และบูรณาการการใช้ภาษาอังกฤษในการจัด
การเรียนการสอน
 
กลยุทธ์ ตัวชี้วัดความสำเร็จ
3. พัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (ต่อ) 3. ร้อยละของครูและบุคลากรทางการศึกษามีความสามารถในการใช้ ICT ในการเรียนการสอน และนำภูมิปัญญาของท้องถิ่นมาบูรณาการในการจัดการเรียนรู้
4. ร้อยละของครูออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลและพัฒนาการทางสติปัญญา มีการวัดและประเมินผลที่มุ่งเน้นการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย
5. ร้อยละของครูให้คำแนะนา คำปรึกษา และแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้เรียนทั้งด้านการเรียนและคุณภาพชีวิตด้วยความเสมอภาค
6. ร้อยละของผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ ภาวะผู้นำและความคิด ริเริ่มที่เน้นการพัฒนา สามารถบริหารจัดการศึกษาให้บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการ
7. ร้อยละของครูมีการศึกษา วิจัยเพื่อพัฒนางาน
8. ร้อยละของครูมีแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและจัดการเรียนการสอนตามรายวิชาที่ได้รับมอบหมายเต็มเวลา เต็มความสามารถ
9. ร้อยละของครูมีการพัฒนาความก้าวหน้าทางวิชาชีพ
10. ร้อยละของครูที่ได้รับการยกย่องในระดับต่างๆ
4. พัฒนาระบบบริหารจัดการระบบคุณภาพ 1. มีการพัฒนาระบบการบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพตามโครงสร้างการบริหารโรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสัย
2. มีระบบการนิเทศภายใน กำกับ ติดตามตรวจสอบอย่างเข้มแข็ง เพื่อนาผลไปปรับปรุงการเรียนการสอนอย่างสม่ำเสมอ
3. มีการพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ ประกันคุณภาพภายใน ประกันคุณภาพภายนอก
4. มีการเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดีโดยยึดหลักธรรมาภิบาล
5. มีการปรับปรุงระบบบริหารโดยเทียบเคียงและอิงเกณฑ์มาตรฐาน OBECQA
6. ร้อยละของผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาผ่านเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงาน ระดับดีขึ้นไป
7. มีสวัสดิการครูและบุคลากรทางการศึกษา
5. พัฒนาบรรยากาศสภาพแวดล้อม แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนให้พอเพียงและมีความพร้อมควบคู่เทคโนโลยี 1. มีห้องเรียนคุณภาพ แหล่งเรียนรู้ และใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า
2. มีห้องเรียน ห้องปฏิบัติการคุณภาพและห้องสมุด อาคารเรียนมั่นคง สะอาด ปลอดภัย มีสิ่งอานวยความสะดวกพอเพียง สภาพการใช้งานได้ดี คุ้มค่า สภาพแวดล้อมร่มรื่น มีแหล่งเรียนรู้สาหรับผู้เรียน
3. มีระบบ ICT และเครือข่ายในโรงเรียนอย่างทั่วถึงและพอเพียง
4. ร้อยละของผู้เรียนที่ตระหนัก รู้คุณค่า ร่วมอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
5. ระบบสาธารณูปโภค สิ่งก่อสร้างและอาคารประกอบ มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน
 
กลยุทธ์ ตัวชี้วัดความสำเร็จ
6. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมขอชุมชน ภาคีเครือข่ายร่วมพัฒนา 1. ร้อยละของผู้ปกครอง และเครือข่ายผู้ปกครอง รวมทั้งองค์กรภาครัฐและเอกชน มีส่วนร่วมในการพัฒนาสถานศึกษา
2. ร้อยละของคณะกรรมการสถานศึกษาปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบกำหนด กำกับติดตาม ดูแล และขับเคลื่อนการดำเนินงานของสถานศึกษาให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย
3. มีกิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์ชุมชนและจัดระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา
4. โรงเรียนเป็นแหล่งส่งเสริมสนับสนุนทางด้านวิชาการและอื่นๆ แก่บุคคล ครอบครัว องค์กร หน่วยงาน และสถาบันอื่นอย่างมีคุณภาพและ
มีความพึงพอใจ
5. ร้อยละของนักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองและชุมชน
มีความพึงพอใจต่อผลการบริหาร การจัดการศึกษา
 
จุดเน้น
          จุดเน้นด้านผู้เรียน
          1.  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการทดสอบระดับชาติ
 (O-NET) กลุ่มสาระหลัก เพิ่มขึ้นเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 3
          2.  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ มีความสามารถด้านภาษา อ่านออกเขียนได้ ด้านคำนวณ และด้านการใช้เหตุผลที่เหมาะสม 
          3.  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ได้รับการส่งเสริมให้มีแรงจูงใจสู่อาชีพ ด้วยการแนะแนว ทั้งโดยครูและผู้ (ผู้ปกครอง ศิษย์เก่า สถานประกอบการใน/นอกพื้นที่) และได้รับการพัฒนาความรู้ ทักษะที่เหมาะสมกับการประกอบอาชีพสุจริตในอนาคต
          4.  นักเรียนทุกคนมีทักษะชีวิต ทักษะการคิดวิเคราะห์ทักษะการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์อย่างน้อย 2 ภาษา ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเครื่องมือในการเรียนรู้ เหมาะสมตามช่วงวัย
          5.  นักเรียนทุกคนมีคุณธรรม จริยธรรม รักความเป็นไทย ห่างไกลยาเสพติดมีคุณลักษณะและทักษะทางสังคมที่เหมาะสม โดยเน้น ใฝ่เรียนรู้ ใฝ่ดี และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้
          จุดเน้นด้านครูและบุคลากรทางการศึกษา
          1. ครูทุกคนได้รับการพัฒนาองค์ความรู้ และทักษะในการสื่อสารมีประสิทธิภาพ 
          2. ผู้บริหารสถานศึกษา มีความสามารถในการบริหารงาน ทุกด้านมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผล 
          3. ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เป็นมืออาชีพมีผลงานเชิงประจักษ์ ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติอย่างเหมาะสม
         
 
 
 
          จุดเน้นด้านการบริหารจัดการ
1. สถานศึกษาบริหารจัดการโดยมุ่งเน้นการกระจายอำนาจ การมีส่วนร่วม และมีความรับผิดชอบต่อผลการดำเนินงาน  
2. สถานศึกษาจัดการศึกอย่างมีคุณภาพตามมาตรฐาน
 
          จุดเน้น  มาตรการ  และตัวชี้วัดความสำเร็จ
จุดเน้นด้านผู้เรียน
 
จุดเน้น มาตรการ ตัวชี้วัดความสำเร็จ
1.  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการทดสอบระดับชาติ (O-NET) กลุ่มสาระหลัก เพิ่มขึ้นเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ ๓ - ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 8 กลุ่มสาระ โดยเน้น 5 กลุ่มวิชาหลัก ได้แก่ วิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์ ภาษาไทย สังคมศึกษา และภาษาต่างประเทศ - ค่าเฉลี่ยร้อยละของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี 6  ของผลการทดสอบระดับชาติ  O-NET ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมฯ โดยรวมเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 
- ผลการทดสอบระดับชาติ O-NET กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า ร้อยละ 5
- ร้อยละ 100 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ทุกคนอ่านคล่อง เขียนคล่อง คิดเลขคล่อง และมีทักษะการคิดพื้นฐาน
2.  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ มีความสามารถด้านภาษา อ่านออกเขียนได้ ด้านคำนวณ และด้านการใช้เหตุผลที่เหมาะสม 
         
- พัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนภาษาไทย และคณิตศาสตร์
- เร่งรัดพัฒนาการเรียนการสอนและสื่อการเรียนรู้ให้เทียบเคียงมาตรฐานสากล
- ค่าเฉลี่ยร้อยละของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของการสอบ NT เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 3
- ร้อยละ 100 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 อ่านออกเขียนได้ คิดเลขเป็น
3.  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ได้รับการส่งเสริมให้มีแรงจูงใจสู่อาชีพ ด้วยการแนะแนว ทั้งโดยครูและผู้ (ผู้ปกครอง ศิษย์เก่า สถานประกอบการใน/นอกพื้นที่) และได้รับการพัฒนาความรู้ ทักษะที่เหมาะสมกับการประกอบอาชีพสุจริตในอนาคต
           
- ส่งเสริมการจัดการศึกษาให้กับผู้ที่มีความสามารถพิเศษให้ได้รับการพัฒนาศักยภาพ
- ส่งเสริมการดำรงตนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
- ส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
- สถานศึกษาทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (Mou)
กับสถาบันการศึกษาในระดับประถมศึกษาและอุดมศึกษาทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
- ร้อยละ 80 ของนักเรียน มีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตร
- ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (Mou) กับสถาบันการศึกษาภายในประเทศไม่น้อยกว่า 2 สถาบันและต่างประเทศไม่น้อยกว่า 1 สถาบัน
 
จุดเน้น มาตรการ ตัวชี้วัดความสำเร็จ
4.  นักเรียนทุกคนมีทักษะชีวิต ทักษะการคิดวิเคราะห์ทักษะการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์อย่างน้อย 2 ภาษา ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเครื่องมือในการเรียนรู้ เหมาะสมตามช่วงวัย
           
 
- เร่งรัดให้ประชากรวัยเรียนทุกคนได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- เร่งรัดพัฒนาการเรียนการสอนและสื่อการเรียนรู้ให้เทียบเคียงมาตรฐานสากล
 
- นักเรียนมีความสามารถด้านทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษตามมาตรฐานที่กำหนด ร้อยละ 80
- นักเรียนทุกคนที่ได้รับการพัฒนาให้มีคุณลักษณะผู้นำนักเรียนอาเซียน
- นักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 สามารถใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร
-นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ4    สามารถใช้ภาษาจีนในการสื่อสาร
5.  นักเรียนทุกคนมีคุณธรรม จริยธรรม รักความเป็นไทย ห่างไกลยาเสพติดมีคุณลักษณะและทักษะทางสังคมที่เหมาะสม โดยเน้น ใฝ่เรียนรู้ ใฝ่ดี และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้
 
- เสริมสร้างระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูกับนักเรียน
- ป้องกันและแก้ไขปัญหา
ยาเสพติด
- ปลูกฝังให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- ส่งเสริมจิตสำนึกความเป็นไทยในสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ การปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
- ส่งเสริมการดำรงตนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
- ระดับความสำเร็จการดำเนินกิจกรรม ให้ผู้เรียนมีค่านิยมหลักคนไทย  12  ประการครบทุกตัว สอดคล้องตามช่วงวัย
- นักเรียนชั้นประถมศึกษาทุกคนใช้เวลาอ่านหนังสือนอกเวลาเรียนโดยเฉลี่ยอย่างน้อยวันละ 60 นาที
- ร้อยละ 100 ของนักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- ร้อยละ 100 ของนักเรียนมีความสำนึกในความเป็นไทย
- ร้อยละ 100 ของนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
 
จุดเน้นด้านครูและบุคลากรทางการศึกษา
จุดเน้น มาตรการ ตัวชี้วัดความสำเร็จ
1. ครูทุกคนได้รับการพัฒนาองค์ความรู้ และทักษะในการสื่อสารมีประสิทธิภาพ 
         
- พัฒนาศักยภาพผู้เรียน ครู ผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษาให้มีทักษะภาษาที่สอง และมีความพร้อมต่อการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
- ส่งเสริมให้ครูมีส่วนร่วมดำเนินโครงการเพื่อส่งเสริมความเป็นเลิศด้านวิชาการ
- ครูและบุคลากรทางการศึกษากลุ่มเป้าหมาย จำนวน 91 คน มีองค์ความรู้ตามเนื้อหาที่กำหนดในระดับดี ขึ้นไป                                                                                                      
- ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มี ID Plan ได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาตนเองอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
จุดเน้น มาตรการ ตัวชี้วัดความสำเร็จ
2. ผู้บริหารสถานศึกษา มีความสามารถในการบริหารงาน ทุกด้านมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผล 
         
- ผู้บริหารสถานศึกษาพัฒนาตนเอง
ด้านความรู้ความสามารถในการบริหารวิชาการในศตวรรษที่ 21 
- ผู้บริหารสถานศึกษาทุกโรง (โรงเรียนมาตรฐานสากล โรงเรียนในฝัน และโรงเรียนดีประจำตำบล)  มีความรู้ความสามารถในการบริหารวิชาการในศตวรรษที่ 21  ในระดับดีขึ้นไป
3. ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เป็นมืออาชีพมีผลงานเชิงประจักษ์ ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติอย่างเหมาะสม
 
- สนับสนุนพัฒนาศักยภาพของบุคลากรให้มีคุณวุฒิ และวิทยฐานะสูงขึ้น รางวัลต่างๆ มีเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งในและนอกเขตพื้นที่การศึกษา
 
- ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีผลการปฏิบัติงานเชิงประจักษ์ตามเกณฑ์ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติทุกคน
 
จุดเน้นด้านการบริหารจัดการ
 
จุดเน้น มาตรการ ตัวชี้วัดความสำเร็จ
1. สถานศึกษาบริหารจัดการโดยมุ่งเน้นการกระจายอำนาจ การมีส่วนร่วม และมีความรับผิดชอบต่อผลการดำเนินงาน - พัฒนา ส่งเสริม การดำเนินงานตามระบบต่างๆ ให้มีความเข้มแข็งถูกต้อง มีประสิทธิภาพ - เมื่อสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 สถานศึกษา เบิกจ่ายงบในภาพรวมได้ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 96 และงบลงทุนไม่น้อยกว่าร้อยละ 87
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีผลสัมฤทธิ์ของการกระจายอำนาจที่ร้อยละ ๕๐
2. สถานศึกษาจัดการศึกอย่างมีคุณภาพตามมาตรฐาน - พัฒนาส่งเสริมการดำเนินงานตามระบบประกันคุณภาพภายในและสถานศึกษาให้มีความเข้มแข็งเพื่อรองรับการประเมินคุณภาพภายนอก
- ส่งเสริม สนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชน องค์กร ภาครัฐ และเอกชนในการจัดการศึกษา
- สถานศึกษาทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (Mou)
กับสถาบันการศึกษาในระดับประถมศึกษาและอุดมศึกษาทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
- สถานศึกษามีระบบประกันคุณภาพภายในที่เข้มแข็งตามกฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2553
- สถานศึกษาผ่านการรับรองคุณภาพภายนอก รอบที่ 3 จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (สมศ.)
- สถานศึกษามีผลงานที่เป็นเลิศ
- ผลการประเมินความพึงพอใจด้านการบริหารจัดการไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80
- ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (Mou) กับสถาบันการศึกษาภายในประเทศไม่น้อยกว่า 2 สถาบันและต่างประเทศไม่น้อยกว่า 1 สถาบัน
แนวทางการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
         โรงเรียนกำหนดแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยกำหนดเป็นแผนระยะยาว 5 ปี ตั้งแต่
ปีการศึกษา 2555 – 2559 และมีแผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา 255๙ พอสรุปได้ดังนี้
 
1.  การพัฒนาการบริหารงานวิชาการ
                    พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา  วางแผนงานด้านวิชาการ  พัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ วัดผล ประเมินผล และดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน วิจัยเพื่อพัฒนาและส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอก นิเทศการศึกษา แนะแนว ประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ส่งเสริมชุมชนให้มีความเข้มแข็งทางวิชาการ ประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาและองค์กรอื่น ส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการแก่บุคคล ครอบครัว องค์กร หน่วยงาน สถานประกอบการและสถาบันอื่นที่จัดการศึกษา จัดทำระเบียบและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับงานด้านวิชาการของสถานศึกษาพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา 
 
2.  การพัฒนาการบริหารงานบุคคล
                    พัฒนาและส่งเสริมบุคลากรเป็นครูมืออาชีพ  ครูทุกคนสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  ใช้สื่อการสอนและเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อพัฒนาคุณภาพของนักเรียน  ส่งเสริมให้ครูปฏิบัติงานเต็มตามศักยภาพ  โดยยึดมั่นในระเบียบวินัย  จรรยาบรรณ  อย่างมีมาตรฐานแห่งวิชาชีพ  เน้นการวางแผนอัตรากำลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาสรรหาและบรรจุแต่งตั้งดำเนินการเกี่ยวกับการเปลี่ยนตำแหน่งให้สูงขึ้น ย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ประเมินผลการปฏิบัติงาน ดำเนินการเกี่ยวกับการเลื่อนขั้นเงินเดือน ดำเนินการเรื่องวินัยและการลงโทษ รายงานการดำเนินการทางวินัยและการลงโทษ ส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณวิชาชีพ พัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา
 
3.  การพัฒนาการบริหารงานงบประมาณ
                    เน้นพัฒนาการบริหารจัดการให้มีความคล่องตัว โปร่งใส ตรวจสอบได้  ยึดหลักการบริหารงานมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์  และการบริหารงานแบบมุ่งเน้นผลงาน สามารถบริหารจัดการทรัพยากรที่ได้อย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพ  ในด้านการจัดทำแผนงบประมาณและคำขอตั้งงบประมาณ  จัดทำแผนการใช้จ่ายเงินตามที่ได้จัดสรรงบประมาณอนุมัติการใช้จ่ายงบประมาณที่ได้รับจัดสรร ตรวจสอบ ติดตาม และรายงานการใช้งบประมาณ ระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษาวางแผนพัสดุ พัฒนาระบบข้อมูลและสารสนเทศเพื่อการจัดทำและจัดหาพัสดุ ควบคุมดูแลบำรุงรักษาและจำหน่ายพัสดุ รับเงิน เก็บรักษาเงิน และจ่ายเงิน จัดทำบัญชีการเงินการจัดทำรายงานทางการเงินและงบการเงิน จัดทำและจัดหาแบบพิมพ์บัญชี ทะเบียน และรายงาน 
 
4.  การพัฒนาการบริหารงานทั่วไป
                    เน้นพัฒนาการจัดระบบบริหารองค์กร ให้บริการบริหารงานอื่นๆ  บรรลุตามมาตรฐานคุณภาพและเป้าหมายที่กำหนดไว้  โดยการประสานงาน ส่งเสริมสนับสนุนและการอำนวยการความสะดวกต่างๆ  ในการบริการการศึกษาทุกรูปแบบ  มุ่งพัฒนาการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีอย่างเหมาะสม  ส่งเสริมการบริหารจัดการการบริหารงานที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงานเป็นหลัก  โดยเน้นความโปร่งใส ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ ตลอดจนการมีส่วนร่วมของบุคคล  ชุมชนและองค์กรที่เกี่ยวข้อง  เพื่อให้การจัดการศึกษามีประสิทธิภาพและประสิทธิผล  เน้นการพัฒนาระบบและเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศ ประสานงานและพัฒนาเครือข่ายการศึกษา ดูแลอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม จัดทำสำมะโนผู้เรียน รับนักเรียน ทัศนศึกษา ส่งเสริมงานกิจการนักเรียน ประชาสัมพันธ์งานการศึกษา ส่งเสริมสนับสนุนและประสานการจัดการศึกษาของบุคคล ชุมชน องค์กร หน่วยงานและสถาบันสังคมอื่นที่จัดการศึกษา ดำเนินการเกี่ยวกับงานประสานราชการกับส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น รายงานผลการดำเนินงาน